คนรักสัตว์ http://nookka.siam2web.com/

 

พันธุ์โกเด้น รีทรีฟเวอร์

ดูจากสีขนที่เหลืองเป็นสีทองไปทั้งตัว ประกอบกับใบหน้ว้างและดูปราดเปรียวแล้ว ลักษณะทุกอย่างของสุนัขพันธุ์นี้ส่อให้เห็นถึงท่าทีอันสุภาพเป็นมิตร สุนัขพันธุ์นี้จึงเป็นที่นิยมไปทั่วทุกมุมโลก รูปร่างอันงดงามของโกลเด้น รีทรีฟเวอร์นั้นใช่ว่าจะสวยแต่รูปก็หาไม่ ความสามารถของมันนั้นไม่เบา ไม่แพ้พันธุ์เก็บนกชนิดอื่นๆ หรือพวกพันธุ์สแปเนี่ยลตัวเป้งๆ ในระหว่างฤดูหนาวของแคนาดาซึ่งหนาวใช่ย่อย มันก็ยังลุยเก็บนกเป็ดน้ำได้อย่างสบาย

โกลเด้น รีทรีฟเวอร์เป็นสุนัขขนาดใหญ่ที่มีความคล่องตัวสูง เป็นสุนัขที่มีความเฉลียวฉลาดมากมากจนสามารถนำมาฝึกเพื่อใช้งานได้ เนื่องจากเป็นสุนัขที่มีขนาดไม่เล็กหรือไม่ใหญ่จนเกินไป จัดว่าเป็นสุนัขที่มีประสาทสัมผัสดีเลิศทั้งในด้านของการฟังเสียง การดมกลิ่นสะกดรอย นอกจากนี้ยังมีสายตาอันเฉียบคมและแม่นยำ ด้วยเหตุนี้วงการทหารและตำรวจในหลายๆ ประเทศจึงได้นำสุนัขพันธุ์นี้มาฝึกเพื่อไว้ช่วยงานราชการ อาทิเช่น ตรวจค้นยาเสพติด, ดมกลิ่นสะกดรอยคนร้าย, ยามรักษาความปลอดภัย แต่ที่ดูเหมือนจะได้รับความนิยมสูงสุด ก็เห็นจะได้แก่ฝึกให้เป็นสุนัขนำทางคนตาบอด ทั้งนี้เพราะโกลเด้น รีทรีฟเวอร์เป็นสุนัขซึ่งฉลาด แต่ไม่ค่อยเจ้าเล่ห์หรือซุกซนเหมือนสุนัขบางพันธุ์

เจ้าสีทองพันธุ์นี้ปรากฏขึ้นในลักษณะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในเมืองอังกฤษในทศวรรษที่ 1860 เป็นสุนัขที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากสุนัขในกลุ่มสแปเนี่ยล ซึ่งเป็นสุนัขที่มีความเชี่ยวชาญทางน้ำเป็นพิเศษ โดยมีขนาดเล็กกว่าสุนัขพันธุ์นิวฟาวน์แลนด์ แต่มีลักษณะโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน สันนิษฐานว่าอาจผสมข้ามพันธุ์มาจากสุนัขพันธุ์ไอริชเซทเทอร์ และสุนัขในกลุ่มวอเตอร์สแปเนี่ยล โดยอาจมีสายเลือดของสุนัขพันธุ์บลัดฮาวน์เข้าไปเจือปนอยู่ด้วย

ต่อมาในปลายศตวรรษที่ 19 สุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์หรือที่บางคนเรียก เยลโล่ รีทรีฟเวอร์ ( YELLOW RETRIEVER ) ก็เป็นที่รู้จักและนิยมเลี้ยงกันแพร่หลายในประเทศอังกฤษ จนในปี ค.ศ. 1908 ก็ได้จัดให้มีการประกวดสุนัขพันธุ์นี้ขึ้นเป็นครั้งแรกที่คริสตัลพาเลซ และหลังจากนั้นไม่นานก็ได้มีการจัดตั้งชมรมสุนัขพันธุ์นี้ขึ้นมาโดยเฉพาะ

สำหรับในสหรัฐอเมริกา โกลเด้น รีทรีฟเวอร์เริ่มเป็นที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายในราวปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา โดยชาวอเมริกันส่วนใหญ่จะเลี้ยงโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ไว้เพื่อเป็นนักล่า แม้ทางสมาคม AKC ของสหรัฐอเมริกาจะให้การรับรองสุนัขพันธุ์นี้เข้าไว้ในทำเนียบตั้งแต่ปี ค.ศ. 1925 แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ค่อยได้รับจากผู้เลี้ยงที่คิดอยากจะส่งสุนัขเข้าประกวดซักเท่าไหร่ เนื่องจากผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้ส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับประสิทธิภาพของการใช้งานมากกว่าการประกวด และในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1977 ทางสมาคม AKC ก็ได้จัดให้มีการประกวดความสามารถและความฉลาดแสนรู้ของสุนัข ซึ่งผลปรากฏว่าสุนัขที่ได้รางวัลที่ 1-3 ล้วนเป็นสุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ทั้งสิ้น จากผลการประกวดในครั้งนั้นทำให้ชาวอเมริกันเริ่มเกิดความตื่นตัว และหันมาให้ความสนใจเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้มากขึ้น

สำหรับในด้านของสายพันธุ์ ในยุคสมัยแรกๆ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์จะมีสีเฉพาะสีทองหรือสีน้ำตาลออกไปทางเหลือง ( ซึ่งก็มีด้วยกันหลายเฉด ) แต่พอมาในช่วงหลังๆ ก็ได้เกิดสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งมีขนสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลไหม้ ซึ่งสีนี้ก็เป็นสีที่นิยมมากพอสมควรทั้งในยุโรปและอเมริกา เนื่องจากเป็นสีที่แปลกใหม่

มาตราฐานสายพันธุ์
ลักษณะทั่วไป : โครงสร้างได้สัดส่วน และดูแข็งแกร่งทรงพลัง เป็นสุนัขที่มีความกระตือรือร้นตลอดเวลา ค่อนข้างสงบเสงี่ยม ไม่ส่งเสียงโดยไม่มีเหตุผล มีขนาดปานกลาง ไม่เทอะทะเก้งก้างจนดูเกะกะ
เป็นสุนัขที่มีนิสัยค่อนข้างจะเป็นมิตรกับทุกๆ คน ดังนั้นจึงสามารถพาไปไหนมาไหนโดยไม่สร้างปัญหา มีความเฉลียวฉลาด ว่านอนสอนง่าย เป็นสุนัขที่มีความปราดเปรียวและอดทน ลีลาในการย่างก้าวหรือไหวเป็นไปด้วยความนิ่มนวล

อุปนิสัย : มีความกระตือรือร้นตลอดเวลา ค่อนข้างสงบเสงี่ยม ไม่ส่งเสียงโดยไม่มีเหตุผล มีขนาดปานกลาง ไม่เทอะทะเก้งก้างจนดูเกะกะ
ศีรษะ : กะโหลกใหญ่และกว้างโค้งได้รูปสวยงาม ไม่หยักเป็นร่องลึกหรือโหนกนูนจนมีลักษณะเป็นรูปโดม ช่วงรอยเชื่อมระหว่างจมูก ปาก และหน้าผาก มีความลาดเล็กน้อยแต่ไม่ถึงกับหัก หรือเชื่อมต่อเป็นเส้นตรงเดียวกัน ใบหน้าลึกและกว้างขนาดพอๆ กับศีรษะ, สันจมูก, ปาก เป็นเส้นตรงเวลามองจากด้านข้างปลายจมูก ปากค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นรับกับขนาดของกะโหลกศีรษะ ลักษณะรูปทรงคล้ายลิ่มแลดูแข็งแกร่ง หนังย่นบริเวณหน้าผากอนุโลมให้มีได้ แต่ลักษณะของใบหน้าที่สวยงาม หนังบริเวณใบหน้าควรจะเรียบตึง
ฟัน : ต้องขบกันได้แนบสนิทเหมือนกรรไกร โดยฟันด้านหน้าแถวบนขบเกยอยู่ด้านนอก ซึ่งลักษณะของฟันสำหรับสุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากเป็นสุนัขที่มีหน้าที่ในการเก็บหรือคาบเหยื่อ ดังนั้นอำนาจในการขบกัดจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากสุนัขมีฟันหน้าชุดบนและชุดล่างขบเสมอกันพอดีเหมือนประตูลิฟท์ถือว่าใช้ไม่ได้ แต่ยังพออนุโลมผ่อนผันให้ได้ เว้นแต่ฟันหน้าชุดล่างขบเกยอยู่ด้านนอก หรือฟันหน้าชุดบนและล่างขบเกยไม่สนิทกันถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง ถ้าฟันมีคราบหินปูนเกาะ ฟันผุ หรือฟันมีลักษณะเว้าแหว่งถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรงเช่นกัน
จมูก : จะต้องเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล ส่วนจะเข้มหรืออ่อนก็ขึ้นอยู่กับสีขน แต่ถ้าจมูกเป็นสีชมพูถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง
หู : หูควรสั้นพอประมาณ ใบหูมีลักษณะห้อยปกลงแนบกับส่วนแก้ม รูปทรงค่อนไปทางรูปสามเหลี่ยม ปลายมน เวลาดึงใบหูไปด้านหน้าความยาวของใบหู หูควรปกคลุมลูกตาได้พอดี แต่ถ้าหากฐานใบหูตั้งอยู่ในตำแหน่งต่ำเกินไป หรือหูมีลักษณะเหมือนสุนัขในกลุ่มฮาวน์ หรือดัชชุน ถือเป็นข้อบกพร่อง
ลำคอ : ควรยาวพอประมาณ ลำคอควรตั้งบนหัวไหล่ แลดูมั่นคงกล้ามเนื้อแลเห็นเด่นชัด ขนบริเวณรอบคอห้ามมีการตกแต่ง คอต้องไม่มีเหนียงยื่นโผล่ออกมา
ลำตัว : โครงสร้างลำตัวกระชับได้สัดส่วน อกลึกและกว้าง ความกว้างของอกอย่างน้อยควรมีขนาดพอๆ กับ ฝ่ามือของผู้ชายวางทาบเสมอพอดี ส่วนความลึกของอกควรลึกเสมอข้อศอกขาหน้า กระดูกซี่โครงควรโค้งได้รูปแข็งแรง โดยส่วนแผ่นหลังจะแลดูหนากว่าใต้ท้อง ลำตัวเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ มีความลึกและหนาแลดูบึกบึน แผ่นหลังเรียบตรง โดยมีลักษณะลาดเทจากหัวไหล่ ไปทางบั้นท้ายเล็กน้อยไม่ว่าจะเป็นเวลายืนนิ่งๆ หรือกำลังเคลื่อนไหว โกลเด้น รีทรีฟเวอร์มีหน้าอกเล็กแคบ อกตื้น เส้นหลังแอ่นหรือลาดเทมากเกินไป หรือก้นโด่ง ลำตัวบอบบางเกินไป เวลาเคลื่อนไหวเส้นหลังแกว่ง แลดูขาดความแข็งแกร่งล้วนเป็นข้อบกพร่อง
อุ้งเท้า : มีขนาดปานกลาง เป็นรูปทรงกลม อุ้งเท้ากระชับ นิ้งเท้าไม่กางแบะออกเหมือนตีนเป็ด ขนบริเวณใต้อุ้งเท้าควรได้รับการขลิบออก เพื่อช่วยให้การยึดเกาะมั่นคงยิ่งขึ้น นิ้วติ่งขาหน้าควรกำจัดออกให้หมด แต่โดยปกติจะไม่ค่อยปรากฏนิ้งติ่งให้เห็น โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เวอร์ที่มีอุ้งเท้าแบะหรืออุ้งเท้าแหลมคล้ายอุ้งเท้าของกระต่าย ถือเป็นข้อบกพร่อง
หาง : ควรตั้งอยู่ในตำแหน่งสูงสุดต่อจากเส้นหลัง หางมีขนาดใหญ่โดยเฉพาะบริเวณโคนหางควรจะมีกล้ามเนื้อ ปกติหางจะมีลักษณะห้อยลงต่ำโค้งได้รูปกับสะโพก ความยาวของหางพอๆ กับมุมข้อศอกขาหลัง ในยามที่สุนัขที่ดีใจหางจะโบกสะบัดไปมา บางครั้งอาจงอม้วนขึ้นสูงเหนือระดับแผ่นหลัง
ลำตัวหน้า : เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ มีขนาดเหมาะสมรับกับลำตัวส่วนหลังขณะที่เดินหรือวิ่ง การก้าวย่างเป็นไปอย่างอิสระ การก้างย่างของขาอยู่ในแนวเดียวกับรัศมีของหัวไหล่ กระดูกขามีขนาดค่อนข้างใหญ่และเหยียดตรง กระดูกข้อเท้าสั้นและแข็งแรง มีความลาดเอียงเพียงเล็กน้อย
ลำตัวหลัง : หนาและแข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ บั้นท้ายมีลักษณะลาดเทเล็กน้อย กระดูกขาท่อนบนทอดไปทางด้านหลัง ส่วนกระดูกขาท่อนล่างเหยียดตรงทำมุมฉากกับพื้น โดยขาท่อนล่าง(แข้ง)ยิ่งมีขนาดสั้นเท่าไหร่ย
ขน : ขนดกแน่น สามารถปกป้องน้ำได้เป็นอย่างดี ขนมี 2 ชั้น ขนชั้นนอกจะยาวและมีลักษณะค่อนข้างแข็ง แต่ไม่ถึงกับหยาบกระด้าง เส้นขนมีความยืดหยุ่นในตัว ถ้าหากขนมีลักษณะเส้นเล็กหรือไม่ดกแน่นถือเป็นข้อบกพร่อง ลักษณะของขนที่ถูกต้องจะต้องขึ้นแนบติดลำตัว ส่วนเส้นขนจะเหยียดตรงหรือหยักศกเล็กน้อยไม่เป็นข้อบกพร่อง สำหรับขนบริเวณด้านหลังของขาและใต้ท้องจะมีลักษณะค่อนข้างอ่อนนุ่มกว่าขนตามลำตัว โดยเฉพาะขนที่บริเวณใต้คอ ด้านหลังของต้นขาหลัง และขนใต้หาง จะมีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นพิเศษ ส่วนขนบริเวณศีรษะ ด้านหน้าของขา(หน้าแข้ง) และเท้าจะมีลักษณะสั้นและเรียบ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ที่มีเส้นขนยาวจนเกินไป ขนฟูเป็นกระเซิงไม่แนบติดกับลำตัว หรือมีขนเบาบางไม่ดกแน่น ขนเส้นเล็กล้วนถือเป็นข้อบกพร่อง การตัดแต่งขนจะตัดเฉพาะอุ้งเท้าเท่านั้น
สี : สีต้องเป็นสีน้ำตาลออกทอง ส่วนจะมีสีเข้มอ่อนไม่มีปัญหา ขนตามใบหน้าและลำตัวอาจจะมีเหลือบเทาหรือขาวก็ได้ แต่ถ้าเป็นรอยแต้มด่างสีขาว หรือมีขนสีขาวขึ้นแซมถือเป็นข้อบกพร่อง ยกเว้นโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ที่มีขนสีทองอ่อน ซึ่งมีสีจืดหรือจางมากๆ และสีขาวด่างที่ปรากฏแลดูกลมกลืนกับสีขน ก็ถือเป็นข้ออนุโลม และถ้าหากพื้นที่ของสีขนส่วนใหญ่มีสีซีดจางเกินไป หรือเข้มมากเกินไปก็ถือว่าเป็นข้อบกพร่อง พูดง่ายๆ ก็คือ ถามีขนออกไปทางโทนสีครีมอ่อนๆ หรือสีน้ำตาลไหม้ ขนส่วนนี้จะต้องมีพื้นที่เป็นเพียงส่วนน้อยของขนทั้งหมด คือจะต้องมีโทนสีเข้มกว่าหรืออ่อนกว่ามาช่วยเสริม และสีขนส่วนที่จะมาช่วยเสริมต้องครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า โกลเด้น รีทรีฟเวอร์บางสายพันธุ์ขณะที่ยังเป็นลูกสุนัขอาจจะมีสีซีดจาง แต่เมื่อโตขึ้นสีก็จะเข้มขึ้นโดยธรรมชาติ สำหรับโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ที่มีสีอ่อน นอกเหนือจากที่กล่าวมาล้วนถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง
การเคลื่อนไหว : การก้าวย่างเป็นไปอย่างอิสระ แลดูนุ่มนวลแต่ทรงพลังและสง่างาม เวลาที่วิ่ง ระยะการย่างก้าวของขาหน้าและขาหลังจะต้องมาบรรจบกันที่กึ่งกลางลำตัว เวลาเดินหรือวิ่งขาต้องไม่แกว่งหรือปัด ซึ่งในการประกวดการเคลื่อนไหวของโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก
ขนาด : เพศผู้ควรมีความสูงระหว่าง 23-24 นิ้ว(ความสูงวัดที่หัวไหล่ขาหน้า) ส่วนเพศเมียควรมีความสูงอยู่ในช่วงระหว่าง 21-22 นิ้ว หากความสูงน้อยกว่าหรือมากกว่ามาตรฐานที่กำหนดไม่เกิน 1 นิ้ว ถือเป็นข้ออนุโลม แต่ถ้าสูงหรือเตี้ยกว่าเกิน 1 นิ้ว จากเกณฑ์มาตรฐานถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรงมาก สำหรับความยาวของลำตัวโดยวัดจากหน้าอกถึงบั้นท้าย ควรมีสัดส่วนความยาวมากกว่าความสูงเล็กน้อย คือ สัดส่วน 12 :11 ส่วนน้ำหนักของสุนัขเพศผู้ควรอยู่ในช่วงระหว่าง 65-75 ปอนด์ สำหรับเพศเมีย 55-56 ปอนด์
อารมณ์ : ควรมีความเป็นมิตรกับทุกๆ คน ไม่มีนิสัยขี้หวาดระแวงและดูน่าเชื่อไว้วางใจได้ ไม่มีนิสัยก้าวร้าวดุร้าย แต่ก็ไม่ขี้ขลาดตาขาวด้วย

  

พันธ์บาสเซ็ทฮาวด์

Basset Hound เป็นสุนัขที่มีความสามารถในการตามกลิ่น มีขาที่สั้น กระดูกขาใหญ่มาก และจัดว่าใหญ่กว่าสุนัขพันธุ์อื่นๆ มีลักษณะการเคลื่อนไหวที่สุขุม แต่ไม่งุ่มง่าม เป็นสุนัขอารมณ์ดี ใจดี ไม่ตกใจกลัวง่าย มีความอดทนสูงในการตามกลิ่นในทุ่งกว้างได้อย่างยาวนาน

 

 

 

 

 มาตราฐานสายพันธุ์
ศีรษะ : มีขนาดใหญ่และได้สัดส่วนที่ดี ความยาวจากด้านหลังของกะโหลก(Occiput)ไปจนถึงบริเวณจมูกและปาก (Muzzle) จะใหญ่กว่าความกว้างของหน้าผาก(Brow) ถ้าเทียบกับขนาดตัวทั้งหมดและหัวของมันจะมีขนาดพอดีๆ กะโหลกหัวจะมีลักษณะเป็นรูปโดม ซึ่งจะแสดงกระดูกหลังกะโหลก(Occiput) ที่ยื่นออกมาได้อย่างชัดเจน สำหรับกะโหลกแบนเรียบถือว่าเป็นข้อผิดพลาด(Falt) ความยาวจากจมูกถึงช่วงตรงกลางหน้าผากระหว่างตา(Stop) จะใกล้เคียงความยาวจาก Stop ถึง Occiput ด้านข้างทั้งสองด้านเรียบและห้อยย้อยลงมา มองจากด้านข้างหัวสุนัขจะเห็นแนวเส้นตรงบนดั้งจมูกนั้นจะตรง และขนานกับแนวเส้นตรงของกะโหลกหัว หนังบริเวณหัวทั้งหมด จะย่นเมื่อสุนัขก้มหัวลงรอยย่นจะปรากฎเป็นริ้วบริเวณหน้าผาก สุนัข Basset Hound ตัวใดก็ตามที่หนังหัวไม่ย่นจะถือว่าเป็นข้อผิดพลาด บริเวณด้านข้างระหว่างปากกับจมูก (Muzzle) ควรมีลักษณะใหญ่และห้อย จมูกควรมีสีเข้ม ยิ่งถ้าเป็นสีดำจะยิ่งดี จมูกมีขนาดใหญ่ รูจมูกกว้างสำหรับจมูกสีน้ำตาลเข้มถ้าเข้ากับสีของหัวสุนัขก็ถือว่าไม่ผิด แต่ไม่เป็นที่นิยม ฟัน (Teeth) ควรมีลักษณะใหญ่แข็งแรงเป็นระเบียบ ฟันบนจะขบกับฟันล่างเป็นแบบ Scissors ถ้าลักษณะฟันแบบ Overshot หรือ Undershot ถือเป็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรง (serious Fault)
ริมฝีปาก : มีสีเข้ม มีลักษณะห้อยเอียงจากด้านหน้าไปด้านหลัง หนังบริเวณใต้คอ (Dewlap) จะห้อยมาก คอมีลักษณะแข็งแรงภายใต้ความยาวที่พอดีและมีส่วนโค้งที่ได้สัดส่วน ตา (Eyes) อ่อนโยน เศร้า ลักษณะของลูกตาจะเว้าลงไป ทำให้เห็นเปลือกตาล่างด้านใน ดวงตามีสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลเข้ม ดวงตาสีอ่อนไม่ถือเป็นข้อผิดพลาด แต่ก็ไม่เป็นที่นิยม สำหรับลักษณะลูกตาที่โปนออกมาจากเบ้าถือเป็นข้อผิดพลาด หู(Ears) ค่อนข้างยาว ห้อยลงมาต่ำ ใบหูควรจะยาวมาปิดจมูกได้ ลักษณะของพื้นผิวใบหูนิ่มเหมือนกำมะหยี่ยาวเรียว ปลายหูม้วนเข้าข้างในเล็กน้อย กกหูจะอยู่ต่ำและค่อนไปทางด้านหลังของหัวบริเวณฐานกะโหลก ขณะที่ยืนนิ่งใบหูจะห้อยขนานกับต้นคอ ลักษณะกกหูที่อยู่สูงและใบหูแบบเรียบถือว่าเป็นข้อผิดพลาดร้ายแรง
ส่วนหน้าของลำตัว : จะมีอกยื่นออกมาเมื่อมองจากด้านข้าง ประกอบไปด้วยกระดูกอก(Sternum)ที่ยื่นออกมาอย่างเห็นได้ชัดโดยจะอยู่ระหว่างขาหน้า หัวไหล่และข้อศอกจะอยู่ชิดกับอก ช่วงห่างระหว่างอกกับพื้นควรห่างพอที่สุนัขจะเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก แต่ไม่ควรจะห่างเกิน 1 ส่วน 3 ของความสูงสุนัขเมื่อโตเต็มที่โดยวัดจากหัวไหล่ ไหล่ควรจะเอียงไปทางด้านหลังและดูแข็งแรง หัวไหล่ที่ตั้งตรงและการออกรวมทั้งข้อศอกไม่ชิดลำตัวถือเป็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรง
ขาหน้า : มีขาหน้าสั้น เต็มไปด้วยพละกำลัง กระดูกใหญ่มีรอยย่นรอบๆขา ลักษณะขาหน้าโค้งงอไปด้านหน้า (Knucking Over) ถือว่าขาดคุณสมบัติ (Disqualification) อุ้งเท้าใหญ่แข็งแรง นิ้วเท้าเรียงชิดติดกัน อุ้งเท้ามีลักษณะกลมและเอียงออกเล็กน้อยเท่าๆกันทั้งสองข้างสมดุลย์กับความกว้างของหัวไหล่ ลักษณะข้อต่อระหว่างเท้ากับขาไม่ต่อกันถืเป็นความผิดพลาดอย่างแรง นิ้วเท้าทั้งสองข้างต้องไม่บิดและแบะออก เพราะมันจะทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของส่วนหน้าลำตัว ส่วนนิ้วเท้าเล็กๆข้างเท้าหน้าด้านใน (Dewclaws) สามารถตัดออกได้
ลำตัว : มีลำตัวยาว กระดูกซี่โครงเรียงกันไปจนถึงส่วนหลังของลำตัว กระดูกซี่โครงมีขนาดเหมาะสมที่จะปกป้องคุ้มครองหัวใจและปอด ส่วนกระดูกซี่โครงที่ยุบตัวหรือนูนออกมาไม่เรียบถือเป็นข้อผิดพลาด
กระดูกเส้นหลัง : จะมีลักษณะเป็นเส้นตรงได้ระดับเสมอกัน เส้นหลังที่มีลักษณะโค้งงอหรือเว้าลงถือเป็นข้อผิดพลาด
ส่วนหลังของลำตัว : จะมีลักษณะกลมและแข็งแรง ความกว้างของส่วนหลังนี้จะเท่ากับความกว้างของหัวไหล่ ลักษณะส่วนหลังจะไม่ปรากฎลักษณะของขาหลังที่หย่อนหรือขาที่ไม่มีแรง เมื่อมองแล้วจะสัมพันธ์กับลำตัวทั้งหมด ส่วนหลังควรจะสัมพันธ์กับส่วนหน้าของลำตัว เพื่อที่สุนัขจะสามารถยืนได้อย่างมั่นคงบนขาหลังของมัน โดยไม่มีลักษณะข้อหัวเข่าขาหลัง (Stifle) โค้งงอออกหรือโค้งงอเข้า เมื่อมองจากด้านหลังจะเห็นว่าขาหลังทั้งสองข้างจะต้องชี้ไปข้างหน้า ถ้าบริเวณด้านล่างของขาหลัง (กระดูก Lower Thigh) ตั้งชันจนไม่เกิดมุมถือเป็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรง นิ้วเท้าเล็กๆ ที่ขาหลัง (Dewclaws) ก็สามารถตัดออกได้
หาง : หางจะไม่มีลักษณะเป็นข้อต่อ กระดูกของหางจะเรียงตัวต่อกันและโค้งเล็กน้อย หางจะเป็นเครื่องที่แสดงความมีชีวิตชีวาตามแบบฉบับของสุนัขกลุ่ม Hound ขนบริเวณใต้หางจะมีลักษณะหยาบ
ขนาด : ไม่ควรสูงเกิน 14 นิ้ว โดยวัดจากไหล่ Basset Hound สูงเกิน 15 นิ้ว ถือว่าขาดคุณสมบัติ
ลักษณะการเดิน : สุนัข Basset Hound จะเคลื่อนตัวอย่างนุ่มนวล มีกำลังและมีพลังงานในการเคลื่อนตัวเนื่องจาก Basset Hound เป็นสุนัขดมกลิ่นมันจึงมักเดินเอาจมูกดมพื้นอยู่เสมอ ขณะที่มันเดินขาหน้าและขาหลังจะก้าวขนานไป ในขณะที่เท้าหน้าข้างหนึ่งก้าวไปข้างหน้า เท้าหลังข้างนั้นก็จะดันตัวไปข้างหลังเสมอ เท้าหน้าเมื่อเวลาเดินไม่ควรแบะออกไปด้านข้าง หรือก้าวหน้าแล้วแต่ละเท้าทิศทางการก้าวเท้าไปคนละทิศละทางไม่ตรงกัน และข้อศอกควรจะแนบลำตัว ข้อขาหลังทั้งสองข้างควรตั้งตรงในขณะที่เดิน
ขน : ขนของ Basset Hound มีลักษณะแข็ง เรียบ และสั้น มีขนแน่นปกคลุมทั่วร่างกายทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับได้กับทุสภาพอากาศ ผิวหนังมีลักษณะห้อยและยืดหยุ่นได้ดี สุนัข Basset Hound ที่มีขนยาวถือว่าขาดคุณสมบัติ
สีขน : ไม่มีกำหนดว่าควรจะมีสีอะไร เพียงแต่เป็นสีที่ยอมรับได้ในสุนัขกลุ่ม Hound เรื่องสีและลาย (Marking) จึงถือว่าไม่สำคัญ
ข้อบกพร่อง : * สูงเกิน 15 นิ้วเมื่อวัดจากหัวไหล่
* ขาหน้าโก่งงอไปข้างหน้า (Knuckled Over)
* ขนยาว

ที่มา http://women.sanook.com/pets/breed/dogs.php

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 3,118 Today: 3 PageView/Month: 13

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...